ธรรมชาติ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )


ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง

จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น

* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ชื่อพื้นเมือง มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olea europaea L. OLEACEAE
ชื่อสามัญ Olive
ลักษณะ ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม กัน รูปใบหอก กว้าง 1- 1.5 ซ.ม. ยาว 5 – 6 ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ย่ว 3 -4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้าน ล่างสีเทา ดอดช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอดฝอยมีทั้งดอดสมบูรณ์แพศและ ดอกสมบูรณืเพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีสีขาว หรือครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองมีลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรงสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผลสดมีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1 – 4 ซ.ม. กว้าง 0.6 – 2 ซ.ม. สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ประโยชน์ เนื้อไม้ นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ ใบช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, พุพอง,อาการเหงือกอักเสบ และใช้ในการห้ามเลือด ผลใช้ประกอบอาหารและทำผลิตภัณฑ์น้ำมัน ป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกสันหลังการเจริญเติบโตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พ.ย. – ก.พ. เป็นระยะพักตัวระหว่างช่วงภูมิอากาศหนาว มี.ค. – เม.ย. มะกอกโอลีฟจะเริ่มแตกตาดอกและยอดใหม่ พ.ค. – มิ.ย. ตาดอกจะพัฒนาและเริ่มออกดอก ก.ค. – ส.ค. ผลมะกอกโอลีฟเจริญขึ้นภายหลังกายผสมเกสรเมล็ดที่อยู่ภายใน ผลเจริญเต็มที่ ต.ค. เนื้อของผลมะกอกโอลีฟจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ระยะเวลาการสุกแก่ของผลมะกอกโอลีฟจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธ์ ช่วงกลางเดือน ส.ค. – ต.ค. สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขอลพันธ์ที่สุกแก่ เร็วหรือพันธ์เบาและผลมะกอกโอลีฟที่ใช้เพื่อรับประทานผลเขียว ช่วงกลางเดือนพ.ย. – ก.พ. เริ่มเก็บเกี่ยงผลผลิตมะกอกโอลีฟเพื่อรับประทานผลดำหรือผลแก่และ ที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำมันมะกอกโอลีฟ
อ้างอิงจาก : http://www.bpp.go.th/project/project_6.html

โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ

โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ
( บ.พะเด๊ะ,บ.ถ้ำเสือ,บ.ขุนห้วยแม่สอด,บ.หนองน้ำเขียว,บ.โกช่วย)

ความเป็นมา


เมื่อวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโครงการ
ตามแนวพระราชดำริที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก มีพระราชกระแสผ่าน
ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินงาน
และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนในพื้นที่ อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งให้ตำรวจตระเวน
ชายแดนจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติการจิตวิทยาขุนห้วยแม่สอด (ร.ร.ตชด. ชั่วคราว) เป็นโรงเรียนที่ระลึกแก่ ท่านผู้หญิงทวี
มณีนุตร พระอภิบาลซึ่งถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ตก เมื่อ 19 ก.ย. 40
ต่อมาเมื่อ 2 มค. 41 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสเพิ่มเติมกับว่าที่ ร.ต.กิตติ
ิ ขันธมิตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรดา เป็นการเพิ่มเติม สรุปสระสำคัญได้ว่า ให้มีการพัฒนาหมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้าน
ถ้ำเสือและหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดเป็นศูนย์กลางการ
พัฒนา(ต่อมาเพิ่มอี 2 หมู่บ้าน คือ บ.หนองน้ำเขียว และ บ.โกช่วย รวมเป็น 5 หมู่บ้าน) ในการพัฒนาดังกล่าวทรงโปรด
ให้ดำเนินงาน แบบศูนย์การศึกษาพัมนาขนาดเล็ก โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ
รวม 4 ด้าน ดังนี้
1. ให้แก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
2. ให้พัมนาอาชีพของประชาชนในพื้ นที่ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
4. ให้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมเกรี่ยง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี
ภาษาพูดและภาษาเขียน
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริแล้ว สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมารี ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการในพื้นที่ได้จัดการประชุมร่วมกันเพื่อ
จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้านเสือถ้ำ และหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด
ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก
แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานด้านสาธารณสุข
2. แผนงานด้านการศึกษา
3. แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน
4. แผนงานด้านการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่ประชาชนเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่นๆ
ของชุมชน
2. เพื่อจัดเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถาวร
3. เพื่อให้ชุมชนเป็ฯศูนย์การศึกษาพัฒนาของท้องถิ่นใกล้เคียง

แนวทางในการพัฒนา
1. มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมาย “พอมี พอกิน และอยู่อย่างเป็นสุข”
2. มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรรมทางสังคมให้เป็นประโยชน์ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้กลับสู่ความสมบูรณืมีความสมดุล
กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้
3. การรักษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมอันดี โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรม
ของประชาชนในชุมชนรวมทั้งประยุกต์กิจกรรมในการพัฒนาให้เข้ากับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รายได้และด้านการอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรม โดยการเน้นให้เกิดกระบวนการ ร่วมคิด – ร่วมทำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เป็นการกระตุ้นเร้า
ให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
2. การพัฒนาคนให้คิดเอง – ทำเอง ผลที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประชาชนได้รับการกระตุ้น
ให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพยายามให้ประชาชนมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำเองได้
3. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมีในการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชน กล่าวคือในการดำเนินงานทุกกิจกรรมนอกจากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำแล้ว ยังต้องทำให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งอย่างถาวร นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้างและพัฒนศักยภาพของชุมชนในทุกด้าน ให้มีศักยภาพ
เพียงพอจนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
ความเป็นมา
เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.
ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพ
ป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกราย
ใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับ
ผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้
ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และ
คลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541
ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรง
วิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน
ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่
สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัว
หลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้
โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงาน
ในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์
ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชา
สามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่าง
ประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของ
สัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของ
ประเทศไทยและของโลก
ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย
เป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษร
พระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ
ุครบ 48 พรรษา ในปี 2546
2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์
์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด
4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชน
และเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร
6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน
7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ
ค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่
โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
ไว้ 4 ประการคือ
1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและ
มีความหลากหลายทางชีวภาพ
2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่า
ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับ
ประเทศและนานาชาติ
4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ

กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกัน
ก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้
ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์
์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และ
ความเพลิดเพลิน


http://www.bpp.go.th/project/project_5.html

โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ















โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ
ตามแนวพระราชดำริ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ
ความเป็นมา
    1. ปี 2547 ฯ พณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
      และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการฟื้นฟู ป้องกัน รักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
      โดยเร็วที่สุด โดยยึดแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
      พระบรมราชินีนาถ
    2. 27 กรกฎาคม 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโครงการหมู่บ้านป่าไม้
      ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ให้ ค.ร.ม. พิจารณาให้ความเห็น
      ชอบและ ค.ร.ม. เห็นชอบกับโครงการที่ทส.เสนอและให้นำโครงการดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการพิเศษ
      เพื่อปรสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นก่อนดำเนินการ
    3. 28 กรกฎาคม 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
      พิจารณา โครงการดังกล่าวพบว่าแนวทางโครงการสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
      พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    4. 10 สิงหาคม 2547 ค.ร.ม. รับทราบโครงการหมู่บ้านแผนใหม่ตามพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ
      72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ที่ กปร. พิจารณาแล้ว
    5. ทส. มอบหมายให้ส่วนราชการหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช
      กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรับไปดำเนินการ
กรอบแนวคิด
“ การพัฒนาคน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน สมดุลและยั่งยืน
โดยแนวทางตามพระราชดำริ ”

แนวทางตามพระราชดำริและพระเสาวนีย์
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่
26 กุมภาพันธ์ 2524 ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ป่าไม้ อยู่ด้วยความร่าเริงใจ ไม่ต้องกลัวถูกจับกุม ขับไล่ โดยการส่งเสริม
สนับสนุนของ ส่วนราชการในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วยจัดที่ทำกินและน้ำสนับสนุนการ สร้างที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ
ด้านต่างๆ พัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพในการเพาะปลูกวิธีการสร้างหมู่บ้านป่าไม้ ส่งเสริมการปลูกผัก ปลูกข้าว
ให้พออยู่พอกิน สร้างแปลงสาธิตการเกษตรในพื้นที่ชุมชนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมช่วยเหลือเรื่องการตลาด
ของพืชผลทาง การเกษตรของชาวบ้าน การสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะกล้าไม้
้ในพื้นที่ของตนเอง และส่วนราชการหรือภาคเอกชนซื้อกล้าไม้ของชาวบ้านไปปลูก เป็นต้นสร้างความรู้สึก
ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของพื้นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง หรือกรรมกรของป่าไม้ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ไม่คิดอพยพ
และรักษาหมู่บ้านของเขาเอง สิทธิทำกิน ( สทก.) มิให้มีการซื้อขายพื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินที่จัดให้แล้วเมื่อไม่ใช่
้ สิทธิในที่ดินนั้นสมควร ที่จะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของส่วนกลางชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน
3.ปรัชญา หรือข้อคิดในการดำเนินงานหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ “ประชาชนอยู่ได้ ป่าไม่อยู่ได้ ”
2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2.1 “ เมืองไทยไม่มีแหล่งนำจืดที่ไหนเลยนอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บน้ำ ป่าเป็นที่เก็บน้ำบริสุทธิ์
สำหรับพวกเราได้ทำมาหากินกันได้บริโภคเพื่อว่าพื้นแผ่นดินของเรานี้ ได้เป็นพื้นแผ่นดินที่เป็นประโยชน์ในชีวิตพวกเรา
อย่างแท้จริง” (29 พฤษภาคม 2538 บ้านสร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ )
2.2 โครงการป่ารักน้ำ “ พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัว
สร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า โครงการป่ารักน้ำ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ณ บริเวณเชิงเขาภูผาเหล็ก
ติดต่อกับอ่างเก็บน้ำวังจวง บ.ถ้ำติ้ว ต.ส่องดาว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระราโชวาทสำคัญ ในโครงการหมู่บ้านป่ารักน้ำ
คือ “การจัดการให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ โดยราษฎรไม่มีความคิดว่าที่ตรงนี้เป็ฯเขตบ้านแต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นป่าผืน
เดียวกัน และรู้จักรักษาหวงแหนป่าเสมือนเป็นสมบัติของตนเอง”


วัตถูประสงค์
เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์
จากป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ 72 พรรษา
พระบรมราชินีนาถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับตามแนวทางพระราชดำริ

พื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช ประกอบด้วยหมู่บ้านที่อยู่ติดเขตและใน
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพรรณสัตว์ป่า พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ 2 และป่าสงวนแห่งชาติโซน C
โดยปีงบประมาณ 2548 กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพรรณกำหนดหมู่บ้าน เป้าหมายที่อยู่ในเขตควบคุม
รับผิดชอบของ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. ท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ประกอบด้วย
1.1 บ.ร่มเกล้า ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.2 บ.ชมพูเหนือ ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.3 บ.ซุ้มนกแขก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
1.4 บ.โปร่งพลู ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
2. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 หมู่ ประกอบด้วย
2.1 กลุ่มบ้านห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.2 กลุ่ม บ.ห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.3 บ.หนองเต่า ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว
์ป่าตะเบาะ - ห้วยใหญ่
2.4 บ.ห้วยโป่งเหนือ ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 1
2.5 บ.เหมืองแบ่ง ต.วังบาล อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 5
2.6 กลุ่ม บ.ภูโปรด ต.บ้านเนิน อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อใหญ่หน่วยที่ 1

โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา

เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของ
ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิต
ทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์
เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
เป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
บรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการ
ธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
  1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
  3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
  4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจน
    และขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
  5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
  6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็ง
    ในการประกอบอาชีพ
  7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
  8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
  1. จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
  2. ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
  3. พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
  4. ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
  5. ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผล
การปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมา
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี


โครงการเขาหินซอ้น

โครงการเขาหินซ้อน

โครงการเขาหินซ้อน
แนวคิดและหลักการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ในการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ๆ คือ
1) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
3 ) การพึ่งตนเอง
4 ) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
5 ) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6 ) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ที่ราษฎรกำลังประสบ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ถึงความจำเป็นนี้ว่า "" …..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก ….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนแต่ปวดหัว ใช้ยาแก้ปวด… หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย… อย่างบ้านคนอยู่เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ้อม… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อนแล้วค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้… ""
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า " ระเบิดจากข้างใน " นั่นคือทำให้ชุมชนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้ ""… การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้… การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใจ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไป โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะ ส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ …""
3) การพึ่งตนเอง
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ "… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่าง เหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…"
4) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฏรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของ ความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง วิจัยและแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร "รับได้" นำไป "ดำเนินการเองได้" และเป็นวิธีที่ "ประหยัด" เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฏร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ
5) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศ ในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็น การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและยังได้ส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว
6) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( ปี 2530-2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้สังคมไทย เริ่มเปลี่ยน จากสังคมชนบทสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์ศึกษาฯที่เปรียบดัง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต"
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ...นับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งก็มีกลุ่มคนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติตาม สำหรับเมืองไทยนั้นหนึ่งในรูปธรรมที่เห็นเด่นชัดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ พื้นที่อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่สร้างคุณประโยชน์มากมายต่อพี่น้องเกษตรกรไทย
"เขาหินซ้อน โครงการพระราชดำริแห่งแรก "
ปัจจุบันนอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือหนึ่งในพื้นที่ที่อุดมประโยชน์อันสำคัญของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือโครงการพระราชดำริเด่นๆ 5 แห่งจาก 5 ภาคทั่วประเทศที่แต่ละโครงการต่างก็มีความโดดเด่นน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ภาคกลาง : เขาหินซ้อน แม้..."ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" ณ เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นภูเขาหินตามธรรมชาติก้อนใหญ่ก้อนเล็กระเกะระกะทับซ้อนกันอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า"เขาหินซ้อน" ทว่าหลังจากที่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย 304 พนมสารคาม-กบินทร์บุรีตัดผ่าน ผลพวงจากการระเบิดหินทำถนน รวมถึงการเปิดทางให้ผู้คนเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ทำให้ชั่วระยะเวลาเพียง 30 กว่าปี ป่าดงดิบเขาหินซ้อนได้ถูกทำลายกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม
"ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้ ที่เขาหินซ้อน"
แต่ด้วยแนวพระราชดำริ "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เขาหินซ้อน และได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่ดินที่มีผู้น้อยเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"เมื่อวันที่ 8 มี.ค. พ.ศ.2522 ภายในพื้นที่ 1,895 ไร่ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกของเมืองไทย ปัจจุบันศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อนแห่งนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน แบ่งพื้นที่ภายในศูนย์เพื่อทำการสาธิตและทดลองงานต่างๆ อาทิ งานเกษตรแผนใหม่ งานเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพ โครงการสวนป่าสมุนไพร การทำประมงเลี้ยงปลาสวยงาม และปลาน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธ์ นอกจากนี้ในศูนย์ฯยังมีสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมเอาพรรณไม้ป่า พรรณไม้หายาก พรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และสวนสมุนไพรที่มีประโยชน์จัดแสดงไว้อย่างสวยงามมากมายให้ชม ซึ่งนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาดูงานอันน่าสนใจอีกจุดหนึ่งในเมืองแปดริ้ว

โครงการพัฒนาดอยตุง











โครงการพัฒนาดอยตุง

( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริความเป็นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประ
ทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ

ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
ที่มา :
http://www.bpp.go.th/project/project_18.html