ธรรมชาติ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )

โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )


ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง

จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น

* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ชื่อพื้นเมือง มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olea europaea L. OLEACEAE
ชื่อสามัญ Olive
ลักษณะ ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม กัน รูปใบหอก กว้าง 1- 1.5 ซ.ม. ยาว 5 – 6 ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ย่ว 3 -4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้าน ล่างสีเทา ดอดช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอดฝอยมีทั้งดอดสมบูรณ์แพศและ ดอกสมบูรณืเพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีสีขาว หรือครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองมีลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรงสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผลสดมีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1 – 4 ซ.ม. กว้าง 0.6 – 2 ซ.ม. สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ประโยชน์ เนื้อไม้ นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ ใบช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, พุพอง,อาการเหงือกอักเสบ และใช้ในการห้ามเลือด ผลใช้ประกอบอาหารและทำผลิตภัณฑ์น้ำมัน ป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกสันหลังการเจริญเติบโตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พ.ย. – ก.พ. เป็นระยะพักตัวระหว่างช่วงภูมิอากาศหนาว มี.ค. – เม.ย. มะกอกโอลีฟจะเริ่มแตกตาดอกและยอดใหม่ พ.ค. – มิ.ย. ตาดอกจะพัฒนาและเริ่มออกดอก ก.ค. – ส.ค. ผลมะกอกโอลีฟเจริญขึ้นภายหลังกายผสมเกสรเมล็ดที่อยู่ภายใน ผลเจริญเต็มที่ ต.ค. เนื้อของผลมะกอกโอลีฟจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่ระยะเวลาการสุกแก่ของผลมะกอกโอลีฟจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธ์ ช่วงกลางเดือน ส.ค. – ต.ค. สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขอลพันธ์ที่สุกแก่ เร็วหรือพันธ์เบาและผลมะกอกโอลีฟที่ใช้เพื่อรับประทานผลเขียว ช่วงกลางเดือนพ.ย. – ก.พ. เริ่มเก็บเกี่ยงผลผลิตมะกอกโอลีฟเพื่อรับประทานผลดำหรือผลแก่และ ที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำมันมะกอกโอลีฟ
อ้างอิงจาก : http://www.bpp.go.th/project/project_6.html

โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ

โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ
( บ.พะเด๊ะ,บ.ถ้ำเสือ,บ.ขุนห้วยแม่สอด,บ.หนองน้ำเขียว,บ.โกช่วย)

ความเป็นมา


เมื่อวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโครงการ
ตามแนวพระราชดำริที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก มีพระราชกระแสผ่าน
ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินงาน
และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนในพื้นที่ อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งให้ตำรวจตระเวน
ชายแดนจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติการจิตวิทยาขุนห้วยแม่สอด (ร.ร.ตชด. ชั่วคราว) เป็นโรงเรียนที่ระลึกแก่ ท่านผู้หญิงทวี
มณีนุตร พระอภิบาลซึ่งถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ตก เมื่อ 19 ก.ย. 40
ต่อมาเมื่อ 2 มค. 41 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสเพิ่มเติมกับว่าที่ ร.ต.กิตติ
ิ ขันธมิตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรดา เป็นการเพิ่มเติม สรุปสระสำคัญได้ว่า ให้มีการพัฒนาหมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้าน
ถ้ำเสือและหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดเป็นศูนย์กลางการ
พัฒนา(ต่อมาเพิ่มอี 2 หมู่บ้าน คือ บ.หนองน้ำเขียว และ บ.โกช่วย รวมเป็น 5 หมู่บ้าน) ในการพัฒนาดังกล่าวทรงโปรด
ให้ดำเนินงาน แบบศูนย์การศึกษาพัมนาขนาดเล็ก โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ
รวม 4 ด้าน ดังนี้
1. ให้แก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
2. ให้พัมนาอาชีพของประชาชนในพื้ นที่ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
4. ให้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมเกรี่ยง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี
ภาษาพูดและภาษาเขียน
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริแล้ว สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมารี ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการในพื้นที่ได้จัดการประชุมร่วมกันเพื่อ
จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้านเสือถ้ำ และหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด
ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก
แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานด้านสาธารณสุข
2. แผนงานด้านการศึกษา
3. แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน
4. แผนงานด้านการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่ประชาชนเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่นๆ
ของชุมชน
2. เพื่อจัดเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถาวร
3. เพื่อให้ชุมชนเป็ฯศูนย์การศึกษาพัฒนาของท้องถิ่นใกล้เคียง

แนวทางในการพัฒนา
1. มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมาย “พอมี พอกิน และอยู่อย่างเป็นสุข”
2. มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรรมทางสังคมให้เป็นประโยชน์ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้กลับสู่ความสมบูรณืมีความสมดุล
กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้
3. การรักษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมอันดี โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรม
ของประชาชนในชุมชนรวมทั้งประยุกต์กิจกรรมในการพัฒนาให้เข้ากับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รายได้และด้านการอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรม โดยการเน้นให้เกิดกระบวนการ ร่วมคิด – ร่วมทำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เป็นการกระตุ้นเร้า
ให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
2. การพัฒนาคนให้คิดเอง – ทำเอง ผลที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประชาชนได้รับการกระตุ้น
ให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพยายามให้ประชาชนมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำเองได้
3. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมีในการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชน กล่าวคือในการดำเนินงานทุกกิจกรรมนอกจากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำแล้ว ยังต้องทำให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งอย่างถาวร นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้างและพัฒนศักยภาพของชุมชนในทุกด้าน ให้มีศักยภาพ
เพียงพอจนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
ความเป็นมา
เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.
ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพ
ป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกราย
ใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับ
ผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้
ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และ
คลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541
ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรง
วิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน
ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่
สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัว
หลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้
โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงาน
ในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์
ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชา
สามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่าง
ประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของ
สัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของ
ประเทศไทยและของโลก
ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย
เป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษร
พระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ
ุครบ 48 พรรษา ในปี 2546
2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์
์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด
4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชน
และเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร
6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน
7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ
ค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่
โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
ไว้ 4 ประการคือ
1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและ
มีความหลากหลายทางชีวภาพ
2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่า
ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับ
ประเทศและนานาชาติ
4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ

กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกัน
ก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้
ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์
์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และ
ความเพลิดเพลิน


http://www.bpp.go.th/project/project_5.html

โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ















โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ
ตามแนวพระราชดำริ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ
ความเป็นมา
    1. ปี 2547 ฯ พณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
      และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการฟื้นฟู ป้องกัน รักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
      โดยเร็วที่สุด โดยยึดแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
      พระบรมราชินีนาถ
    2. 27 กรกฎาคม 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโครงการหมู่บ้านป่าไม้
      ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ให้ ค.ร.ม. พิจารณาให้ความเห็น
      ชอบและ ค.ร.ม. เห็นชอบกับโครงการที่ทส.เสนอและให้นำโครงการดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการพิเศษ
      เพื่อปรสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นก่อนดำเนินการ
    3. 28 กรกฎาคม 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
      พิจารณา โครงการดังกล่าวพบว่าแนวทางโครงการสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
      พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    4. 10 สิงหาคม 2547 ค.ร.ม. รับทราบโครงการหมู่บ้านแผนใหม่ตามพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ
      72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ที่ กปร. พิจารณาแล้ว
    5. ทส. มอบหมายให้ส่วนราชการหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช
      กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรับไปดำเนินการ
กรอบแนวคิด
“ การพัฒนาคน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน สมดุลและยั่งยืน
โดยแนวทางตามพระราชดำริ ”

แนวทางตามพระราชดำริและพระเสาวนีย์
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่
26 กุมภาพันธ์ 2524 ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ป่าไม้ อยู่ด้วยความร่าเริงใจ ไม่ต้องกลัวถูกจับกุม ขับไล่ โดยการส่งเสริม
สนับสนุนของ ส่วนราชการในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วยจัดที่ทำกินและน้ำสนับสนุนการ สร้างที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ
ด้านต่างๆ พัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพในการเพาะปลูกวิธีการสร้างหมู่บ้านป่าไม้ ส่งเสริมการปลูกผัก ปลูกข้าว
ให้พออยู่พอกิน สร้างแปลงสาธิตการเกษตรในพื้นที่ชุมชนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมช่วยเหลือเรื่องการตลาด
ของพืชผลทาง การเกษตรของชาวบ้าน การสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะกล้าไม้
้ในพื้นที่ของตนเอง และส่วนราชการหรือภาคเอกชนซื้อกล้าไม้ของชาวบ้านไปปลูก เป็นต้นสร้างความรู้สึก
ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของพื้นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง หรือกรรมกรของป่าไม้ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ไม่คิดอพยพ
และรักษาหมู่บ้านของเขาเอง สิทธิทำกิน ( สทก.) มิให้มีการซื้อขายพื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินที่จัดให้แล้วเมื่อไม่ใช่
้ สิทธิในที่ดินนั้นสมควร ที่จะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของส่วนกลางชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน
3.ปรัชญา หรือข้อคิดในการดำเนินงานหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ “ประชาชนอยู่ได้ ป่าไม่อยู่ได้ ”
2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2.1 “ เมืองไทยไม่มีแหล่งนำจืดที่ไหนเลยนอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บน้ำ ป่าเป็นที่เก็บน้ำบริสุทธิ์
สำหรับพวกเราได้ทำมาหากินกันได้บริโภคเพื่อว่าพื้นแผ่นดินของเรานี้ ได้เป็นพื้นแผ่นดินที่เป็นประโยชน์ในชีวิตพวกเรา
อย่างแท้จริง” (29 พฤษภาคม 2538 บ้านสร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ )
2.2 โครงการป่ารักน้ำ “ พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัว
สร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า โครงการป่ารักน้ำ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ณ บริเวณเชิงเขาภูผาเหล็ก
ติดต่อกับอ่างเก็บน้ำวังจวง บ.ถ้ำติ้ว ต.ส่องดาว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระราโชวาทสำคัญ ในโครงการหมู่บ้านป่ารักน้ำ
คือ “การจัดการให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ โดยราษฎรไม่มีความคิดว่าที่ตรงนี้เป็ฯเขตบ้านแต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นป่าผืน
เดียวกัน และรู้จักรักษาหวงแหนป่าเสมือนเป็นสมบัติของตนเอง”


วัตถูประสงค์
เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์
จากป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ 72 พรรษา
พระบรมราชินีนาถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับตามแนวทางพระราชดำริ

พื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช ประกอบด้วยหมู่บ้านที่อยู่ติดเขตและใน
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพรรณสัตว์ป่า พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ 2 และป่าสงวนแห่งชาติโซน C
โดยปีงบประมาณ 2548 กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพรรณกำหนดหมู่บ้าน เป้าหมายที่อยู่ในเขตควบคุม
รับผิดชอบของ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. ท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ประกอบด้วย
1.1 บ.ร่มเกล้า ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.2 บ.ชมพูเหนือ ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.3 บ.ซุ้มนกแขก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
1.4 บ.โปร่งพลู ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
2. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 หมู่ ประกอบด้วย
2.1 กลุ่มบ้านห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.2 กลุ่ม บ.ห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.3 บ.หนองเต่า ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว
์ป่าตะเบาะ - ห้วยใหญ่
2.4 บ.ห้วยโป่งเหนือ ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 1
2.5 บ.เหมืองแบ่ง ต.วังบาล อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 5
2.6 กลุ่ม บ.ภูโปรด ต.บ้านเนิน อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อใหญ่หน่วยที่ 1

โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา

เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของ
ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิต
ทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์
เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
เป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
บรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการ
ธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
  1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
  3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
  4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจน
    และขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
  5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
  6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็ง
    ในการประกอบอาชีพ
  7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
  8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
  1. จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
  2. ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
  3. พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
  4. ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
  5. ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผล
การปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมา
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี


โครงการเขาหินซอ้น

โครงการเขาหินซ้อน

โครงการเขาหินซ้อน
แนวคิดและหลักการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ในการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ๆ คือ
1) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
3 ) การพึ่งตนเอง
4 ) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
5 ) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6 ) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ที่ราษฎรกำลังประสบ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ถึงความจำเป็นนี้ว่า "" …..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก ….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนแต่ปวดหัว ใช้ยาแก้ปวด… หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย… อย่างบ้านคนอยู่เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ้อม… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อนแล้วค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้… ""
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า " ระเบิดจากข้างใน " นั่นคือทำให้ชุมชนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้ ""… การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้… การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใจ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไป โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะ ส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ …""
3) การพึ่งตนเอง
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ "… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่าง เหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…"
4) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฏรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของ ความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง วิจัยและแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร "รับได้" นำไป "ดำเนินการเองได้" และเป็นวิธีที่ "ประหยัด" เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฏร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ
5) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศ ในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็น การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและยังได้ส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว
6) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( ปี 2530-2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้สังคมไทย เริ่มเปลี่ยน จากสังคมชนบทสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์ศึกษาฯที่เปรียบดัง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต"
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ...นับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งก็มีกลุ่มคนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติตาม สำหรับเมืองไทยนั้นหนึ่งในรูปธรรมที่เห็นเด่นชัดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ พื้นที่อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่สร้างคุณประโยชน์มากมายต่อพี่น้องเกษตรกรไทย
"เขาหินซ้อน โครงการพระราชดำริแห่งแรก "
ปัจจุบันนอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือหนึ่งในพื้นที่ที่อุดมประโยชน์อันสำคัญของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือโครงการพระราชดำริเด่นๆ 5 แห่งจาก 5 ภาคทั่วประเทศที่แต่ละโครงการต่างก็มีความโดดเด่นน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ภาคกลาง : เขาหินซ้อน แม้..."ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" ณ เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นภูเขาหินตามธรรมชาติก้อนใหญ่ก้อนเล็กระเกะระกะทับซ้อนกันอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า"เขาหินซ้อน" ทว่าหลังจากที่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย 304 พนมสารคาม-กบินทร์บุรีตัดผ่าน ผลพวงจากการระเบิดหินทำถนน รวมถึงการเปิดทางให้ผู้คนเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ทำให้ชั่วระยะเวลาเพียง 30 กว่าปี ป่าดงดิบเขาหินซ้อนได้ถูกทำลายกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม
"ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้ ที่เขาหินซ้อน"
แต่ด้วยแนวพระราชดำริ "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เขาหินซ้อน และได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่ดินที่มีผู้น้อยเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"เมื่อวันที่ 8 มี.ค. พ.ศ.2522 ภายในพื้นที่ 1,895 ไร่ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกของเมืองไทย ปัจจุบันศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อนแห่งนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน แบ่งพื้นที่ภายในศูนย์เพื่อทำการสาธิตและทดลองงานต่างๆ อาทิ งานเกษตรแผนใหม่ งานเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพ โครงการสวนป่าสมุนไพร การทำประมงเลี้ยงปลาสวยงาม และปลาน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธ์ นอกจากนี้ในศูนย์ฯยังมีสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมเอาพรรณไม้ป่า พรรณไม้หายาก พรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และสวนสมุนไพรที่มีประโยชน์จัดแสดงไว้อย่างสวยงามมากมายให้ชม ซึ่งนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาดูงานอันน่าสนใจอีกจุดหนึ่งในเมืองแปดริ้ว

โครงการพัฒนาดอยตุง











โครงการพัฒนาดอยตุง

( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริความเป็นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประ
ทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ

ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
ที่มา :
http://www.bpp.go.th/project/project_18.html

โครงการแก้มลิง














โครงการแก้มลิง

เป็นโครงการที่อาศัยหลักทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากไปเก็บไว้ที่แก้มลิง จะเอากล้วย
ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อน แล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนเข้าไปภายหลัง"
ด้วยวิธีการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาเป็นแนวคิดในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ
และพื้นที่ใกล้เคียง โดยกำหนดให้มีการหาพื้นที่ว่างหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สามารถรองรับและพักน้ำไว้ได้ในยามน้ำหลากก่อนที่
จะค่อยๆ ระบายลงสู่แม่น้ำหรือทะเลในภายหลังเช่นเดียวกับที่ลิงเก็บตุนกล้วยไว้ในแก้มก่อนที่ค่อยๆ ออกมาเคี้ยวกินทีหลังนั่นเอง
จากหลักการนี้เอง ได้นำไปสู่โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยอาศัยวิธีการผันน้ำจากพื้นที่
ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ไหลลงมาตามคลองในแนวทิศเหนือและทิศใต้ มาเก็บกักและพักไว้ในคลองขนาดใหญ่บริเวณชาย
ทะเล ซึ่งทำหน้าที่เป็นแก้มลิง เมื่อถึงเวลาน้ำลง ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับน้ำในคลองสูงกว่าระดับน้ำทะเล ก็ให้เปิดประตูระบายน้ำ
ที่ปากคลอง เพื่อให้น้ำไหลออกสู่ทะเลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะเดียวกันก็ให้สูบน้ำออกอย่างช้า เพื่อช่วยในการระบาย
น้ำท่วมจากพื้นที่ตอนบนไหลลง "แก้มลิง" ได้ตลอดเวลาและเมื่อเวลาน้ำขึ้นก็ให้ปิดประตูระบายน้ำปากคลองเสีย เพื่อไม่ให้น้ำ
ไหลย้อนกลับเข้าสู่ "แก้มลิง" ซึ่งเป็นไปตามหลักการ "น้ำไหลทางเดียว"
ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงมี "แก้มลิง" กระจายอยู่ในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมแทบทุกแห่งทั้ง "แก้มลิง" ที่กรุงเทพ-
มหานครจัดขึ้น และประสานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ และยังมี "แก้มลิงเอกชน" ขนาดเล็กที่เกิดจากการร่วมกันอาสา
ของประชาชน โดยใช้แหล่งน้ำ เช่น บ่อพักน้ำในหมู่บ้านหรือบ้านเรือนของตนเก็บกักน้ำฝนไว้ระยะหนึ่ง ก่อนปล่อยออกสู่ระบบ
ระบายน้ำสาธารณะในภายหลัง
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชน
ชาวไทย ในขณะที่สำนักการระบายน้ำได้สนองแนวพระราชดำริอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปัญหาน้ำท่วมสามารถคลี่คลายไปได้
บึงมะขามเทศ
มีเนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ 3 งาน 85 ตร.ว. สภาพปัจจุบัน
มีการปลูกต้นไม้เป็นสวนป่าบางแห่งริมบึง ทำให้เหลือสภาพ
พื้นที่เป็นบึงประมาณ 31 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นคันดินรอบบึงและ
ปลูกสวนป่า
บึงสะแกงามสามเดือน
มีเนื้อที่ตามทะเบียนที่สาธารณะประมาณ 87 ไร่ แต่จาก
การรังวัดได้เนื้อที่ประมาณ 66 ไร่ 3 งาน 53 ตร.ว. ปัจจุบันเรื่องอยู่
ระหว่างขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญที่หลวง สภาพปัจจุบันเป็น
ที่ลุ่มว่างเปล่า มีประชาชนเลี้ยงปลาในบึง
ความเป็นมา
บึงมะขามเทศและบึงสะแกงามสามเดือน เป็นบึงสาธารณประโยชน์ ตั้งอยู่ ซ.ประชาร่วมใจ 47 ถ.ประชาร่วมใจ
แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา โดยมีรายละเอียดของบึงทั้งสอง ดังนี้
* วิศวกรโยธา 7 วช. กลุ่มงานบริหารโครงการ กองพัฒนาระบบหลัก
ปวุติ บุณยาภรณ์ *
โโคครงกกาารแแกก้้ม้มลิิงิง
วารสารสำนักการระบายน้ำ 8
บึงทั้งสองแห่งมีลำรางสาธารณะเชื่อมติดต่อกัน แต่ลำรางดังกล่าวมีสภาพตื้นเขินและบึงทั้งสองบึง มีคลอง
สาธารณะเชื่อมต่อบึงกับคลองแสนแสบได้แก่ คลองพระราชดำริ 2 คลองโต๊ะเจริญ คลองเกาะขุนเณร บึงทั้งสองแห่งจึงมีความ
เหมาะสมที่จะนำน้ำจากพื้นที่ตอนบนจากคลองแยกคลองหกวาสายล่าง และนำน้ำจากคลองแสนแสบเข้ามาเก็บกักไว้ในบึง
วัตถุประสงค์
สำนักการระบายน้ำจะดำเนินการพัฒนาโดยการขุดลอกบึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลอง-
เชื่อมต่างๆ ให้เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกของ
กรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำ และเพื่อนำน้ำมาใช้ในฤดูแล้ง โดยการขุดลอกคลองเชื่อมต่างๆ ให้ไหลเชื่อมถึงกันรวมทั้ง
ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเช่น ทำนบ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในพื้นที่แก้มลิงดังกล่าว
รายละเอียดการดำเนินการ
สำนักการระบายน้ำจะดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง บึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลองเชื่อมต่างๆ
เป็นพื้นที่แก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ โดยการขุดลอกบึงทั้ง 2 แห่ง
และคลองเชื่อมต่างๆ และการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำนบกั้นน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์ เพื่อควบคุม
ระดับน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำ ได้ทั้งสิ้น 300,000 ลบ.ม. ซึ่งจะดำเนินการในปี 2549 แล้วเสร็จปี 2550
ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณปี 2550
วงเงินงบประมาณ รวมทั้งหมด 88,900,000.- บาท : ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 88,900,000.-บาท
ปริมาณงาน
1. งานขุดลอกบึงมะขามเทศ, บึงสะแกงามสามเดือนและลำรางสาธารณะ 5. ก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. จำนวน 1 แห่ง
2. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6. ก่อสร้างสะพานท่อ จำนวน 2 แห่ง
ขนาด 3 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง 7. ก่อสร้างอาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่
3. ก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 แห่ง
ขนาด 2 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง
4. ก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุมระดับน้ำ ตามลำรางสาธารณะ
พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 แห่ง

อ้างอิงจากhttp://images.google.co.th/imglanding

กระบวนการเกิดนวัตกรรม

กระบวนการเกิดนวัตกรรม
1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย
อ้างอิง : http://chinta18.blogspot.com/
เขียนโดย yuiyui ที่
4:17

โครงการฝายคลองช่องเรือ















โครงการฝายคลองช่องเรือ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ)
ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี
ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี
ประวัติโครงการ
สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544 เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร 1108/2098 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน 2544 ถึงสํานักราชเลขาธิการ ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค จากโครงการประปาภูเขา ช่องเรือ ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงานพิกัด 47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III
- พื้นที่รับน้ำ ประมาณ 3,800 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,227.04 มม.
ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง
- ท่อส่งน้ำ ∅ 0.25 เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร
ระยะดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2547
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน จํานวนประชากรประมาณ 1,798 คน มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี
โครงการฝายคลองช่องเรือ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี

อ้างอิงhttp://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&id=454:2009-09-12-05-34-35&catid=68:2009-05-04-07-30-23&Itemid=9

เศรษฐกิจพอเพียง












กระบวนการเกิดนวัตกรรม

กระบวนการเกิดนวัตกรรม
1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย
อ้างอิง : http://chinta18.blogspot.com/
ความหมายและความสำคัญนวัตกรรม
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาคำว่า นวัตกรรมการศึกษา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Education Innovation ซึ่งหมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ที่อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวดเร็วกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและแสวงหาความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากส่วนประกอบของเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงก็มักจะทำให้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

1.2 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาคำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดได้ง่ายและรวดเร็วคำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรร์และส่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีกระบวนการกระทำหรือจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงมักจะเรียกว่า การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา หรือเรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงขอใช้คำว่า เทคโนโลยีการศึกษา แทน โดยให้หมายถึงนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
1.3 ความหมายของระบบสารสนเทศระบบที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานในที่นี้ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ (Information System) ซึ่ง อนันต์ เกิดดำ (2548) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ระบบสารสนเทศ คือ เซ็ตขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บและเผยเพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนและการตัดสินใจและการควบคุมในองค์กร
1.4 ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ในองค์กรทั่วๆไปจำแนกได้ ดังนี้
1.4.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System: TPS)ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายกระประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้องพัก ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง ระบบรับและส่งสินค้าออกเนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ งานกฎเกณฑ์และเงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้นตัวอย่างเช่นการตัดสินใจจะให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคาร สิ่งที่ผู้บริหารในระดับนี้จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ เขาจะทำได้เพียงแต่ตรวจว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น
1.4.2 ระบบสารสนเทศเพื่องานบริหาร (Management Information System: MIS)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร บางกรณีผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ1.4.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decistion Support System: DSS)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลจากแหล่งภายนอก ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย ข้อมูลแนวโน้มของประชากร หรือข้อมูลด้านความต้องการของตลาดโลก ระบบการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่มีการตอบโต้ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ และจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ มีตารางการทำงาน มีกราฟแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประเมินข้อมูลในการติดสินใจในระบบการสนับสนุนการตัดสินใจที่จะก้าวหน้ามาก ผู้ใช้อาจจะสร้างแบบจำลองของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีอาจสรุปได้ ดังนี้1. ระบบจะต้องใช้ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ2. ระบบจะต้องสนับสนุนการตัดสินใจได้ทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนกลยุทธ์3. ระบบมีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ตัดสินใจ4. ระบบต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมุลในองค์กรได้5. ระบบจะต้องเป็นระบบที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุด1.4.4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS)ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลของการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาส และคาดคะเนแนวโน้มต่างๆ ในอนาคต ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมุลภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังรวมเอาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจำลองการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3, EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่นๆ
1.4.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยบริหารแก้ไขปัญหาหรือการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบมาให้ช่วยในการติดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการติดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรุ้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตามเขียนโดย
อ้างอิงจากhttp://kannika81.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

ความหมายนวัตกรรม

ความหมายนวัตกรรม
หัวข้อ: วิชาการคำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528) ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การคิดค้น (invention) 2. การพัฒนา (Development) 3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมาEverette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption) การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Everette M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้ 1 สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย2 สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่3 สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิมความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
1
การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone)
การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น

อ้างอิงจาก
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=1&sub2=1